ครู

ครู

วันอังคารที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่ 3


กิจกรรม  การตรวจฟันและเหงือกด้วยตนเอง

วัตถุประสงค์

1.  มีความรู้ความเข้าใจสามารถอธิบายวิธีตรวจฟันและเหงือกด้วยตัวเองได้
2   ตรวจฟันและเหงือกด้วยตัวเองได้
3.  บันทึกผลการตรวจได้ถูกต้อง

เนื้อหาสาระ

การตรวจเหงือกและฟันด้วยตัวเอง
-                    การตรวจฟันหน้าบนและล่าง
-                    การตรวจฟันด้านข้างแก้ม
-                    การตรวจฟันล่างด้านใน
-                    การตรวจด้านเพดานและด้านบดเคี้ยว
-                    การตรวจเหงือก

กิจกรรมการเรียนรู้

1.                   ให้นักเรียนร่วมกันร้องเพลง ฟัน
2.  ให้นักเรียนช่วยกันสรุปความหมายของเพลง เนื้อหาเพลงให้ประโยชน์อะไรแก่เราบ้าง
3.  ให้นักเรียนช่วยกันทบทวนถึงวิธีการตรวจสุขภาพปากของผู้อื่นว่าทำอย่างไรบ้าง โดยให้นักเรียนออกมาสาธิต  และทบทวนการบันทึกผล
4.  ให้นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นในเรื่องความจำเป็นที่ต้องตรวจ 
        สุขภาพเหงือกและฟันด้วยตนเอง
5.  แบ่งกลุ่มนักเรียน ให้แต่ละกลุ่มศึกษาใบความรู้ เรื่อง การตรวจเหงือกและฟันด้วยตัวเอง และให้ปฏิบัติดังต่อไปนี้
-   ศึกษาใบความรู้ให้เข้าใจ
-  ฝึกปฏิบัติการตรวจตามใบความรู้กำหนด
-  ฝึกบันทึกผลการตรวจ
-  ส่งตัวแทนออกสาธิตการตรวจหน้าชั้นเรียน
6.  ครูคอยแนะนำ ปรับปรุง แก้ไขให้การตรวจถูกต้อง เหมาะสม รวมทั้งการ    บันทึกข้อมูล
            7.  ร่วมกันสรุปผลการตรวจ และการนำผลการตรวจไปใช้ประโยชน์


สื่อและแหล่งเรียนรู้

1.             กระจกเงา
2.             ใบความรู้
3.             แบบบันทึกผลการตรวจ

วิธีการวัดและประเมินผล

1.             การสังเกตพฤติกรรม
การร่วมอภิปรายแสดงความคิดเห็น
การทำงานเป็นกลุ่ม
การปฏิบัติหน้าที่ การสาธิต
2.             การตรวจผลงาน
ตรวจแบบบันทึกผลการตรวจฟัน

สร้างความตระหนักในเรื่องสุขภาพในช่องปาก “ ฟันของเรา ”

กิจกรรมที่ 2.1


กิจกรรม                สร้างความตระหนักในเรื่องสุขภาพในช่องปาก ฟันของเรา

วัตถุประสงค์

1.             อธิบายถึงหน้าที่ของฟันแต่ละชนิดได้

2.             อธิบายประโยชน์ของการใช้ฟันที่ถูกหน้าที่ได้
3.             เลือกใช้ฟันเคี้ยวอาหารถูกหน้าที่ของฟันแต่ละชนิดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เนื้อหาสาระ

       ความรู้เรื่องฟัน
ชนิดของฟัน
หน้าที่ของฟัน

 กิจกรรมการเรียนรู้

 เชิญวิทยากรภายนอก  อันได้แก่  คณะทันตแพทย์จากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราชมาให้ความรู้แก่นักเรียน ตามกระบวนการจัดการเรียนรู้โดยเน้นทักษะปฏิบัติ
โดยใช้กิจกรรมดังนี้
ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
1.             แจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ให้นักเรียนทราบ
2. ร่วมสนทนาถึงธรรมชาติของฟันคนเรามี 2 ชุด คือฟันน้ำนมและฟันแท้  โดยนำโมเดลฟัน  ฟันปลอม  และฟันจริง ให้นักเรียนดู
3. นักเรียนวิเคราะห์ว่าฟันที่ให้ดูมีลักษณะแตกต่างกันอย่างไร เช่น ลักษณะรากของฟัน  ความคมของฟัน  ความแหลมของฟัน  หน้าตัดของฟัน แล้วให้แยกฟันออกเป็นพวก ๆ
ขั้นกิจกรรมการเรียนรู้
4.             แบ่งนักเรียนออกเป็น 4 กลุ่มให้แต่ละกลุ่มศึกษาใบความรู้ดังนี้
กลุ่มที่ 1  ศึกษาใบความรู้ เรื่อง ฟันตัด
กลุ่มที่ 2  ศึกษาใบความรู้ เรื่อง ฟันเขี้ยว
กลุ่มที่ 3  ศึกษาใบความรู้ เรื่อง ฟันกรามกรามน้อย
กลุ่มที่ 4  ศึกษาใบความรู้ เรื่อง ฟันกราม




5.             ให้แต่ละกลุ่มส่งตัวแทนอภิปรายในหัวข้อ
-                    รูปร่างลักษณะ
-                    จำนวน /ตำแหน่งที่อยู่
-                    ความแตกต่างระหว่างฟันแท้กับฟันน้ำนม
-                    การใช้ประโยชน์ / หน้าที่
-                    การดูแลรักษา
โดยใช้ภาพ โมเดล ของจริงประกอบการอภิปราย โดยวิทยากรคอยให้คำแนะ
นำและเสริมในส่วนที่นักเรียนอภิปรายไม่ชัดเจนหรือขาดตกบกพร่อง
6.             ให้นักเรียนจับคู่กับเพื่อน ให้เพื่อนอ้าปาก และบอกชื่อฟันแต่ละแบบว่า เพื่อนมีกี่ซี่
ขั้นสรุป
7.             ครู วิทยากร นักเรียนร่วมกันสรุปถึงลักษณะของฟันว่า มี 4  ประเภทได้แก่ ฟันตัด  ฟันเขียว ฟันกรามน้อย ฟันกราม แต่ละประเภทมีหน้าที่ต่างกันไป ควรใช้ฟันในการเคี้ยวอาหารให้ถูกวิธี
8.             นักเรียนสร้างองค์ความรู้จากการอภิปรายกลุ่ม โดย จัดทำผังความคิด พร้อมทั้งตกแต่งให้สวยงาม

สื่อ / แหล่งเรียนรู้

1.             ภาพฟัน
2.             โมเดลฟัน
3.             ใบความรู้เรื่อง ฟัน             
4.             ฟันปลอม
5.            ฟันจริง

วิธีการวัดผลประเมินผล

การสังเกต
-                    การเข้าร่วมกิจกรรมของนักเรียน
-                    การทำงานกลุ่ม
-                    การร่วมอภิปรายแสดงความคิดเห็น
การตรวจผลงาน
-                    การทำผังความคิด